คนเรามักเผลอคิดว่าเวลาเป็นต้นทุนที่ไม่ต้องลงทุน แต่แท้จริงแล้วเวลาเป็นทรัพยากรที่มีจำกัดและมีคุณค่า ถ้าเราใช้เวลาเป็นต้นทุนให้กับงานทั้งหมด จนไม่เหลือเวลามาเป็นต้นทุนให้เกิดความสุขในชีวิตเลย เราจะมีความสุขในชีวิตได้อย่างไร
แทนที่เวลาพักผ่อนจะเป็นเศษส่วนที่เหลือเก็บตกจากเวลาทำงาน ควรวางแผนการพักผ่อนอย่างเป็นรูปธรรม และเคารพกับการทำตามแผนให้ได้ต่อเนื่อง
ควรแบ่งเวลาให้กับการได้พบเพื่อนใหม่ๆ เพื่อให้ใจและวิสัยทัศน์ได้เปิดกว้างขึ้น ที่สำคัญคือให้เวลากับการอยู่กับตัวเองตามลำพัง ให้อารมณ์และความคิดที่เป็นสารแขวนลอยอยู่ในใจได้ตกตะกอนลงมาบ้าง
ครั้งสุดท้ายที่คุณได้มีโอกาสใช้เวลาวันหยุดแบบไม่ต้องแตะเรื่องงานเลย ไม่ว่าจะงานประจำ งานบ้าน หรืองานด่วนจากไลน์เจ้านาย
ครั้งสุดท้ายที่คุณจิบกาแฟยามบ่ายพร้อมหนังสือเล่มโปรด โดยไม่ต้องคิดว่าจะหยุดที่กี่โมง เพราะมีธุระบางอย่างรออยู่
ครั้งสุดท้ายที่เพื่อนสนิทหรือครอบครัวโทรหา แล้วคุณก็ออกไปพบได้ทันทีโดยไม่ต้องกังวลกับภาระอะไรที่ต้องทำต่อไป
ครั้งสุดท้ายเหล่านี้เกิดขึ้นเมื่อไรคะ?
สำหรับหมอเอง สารภาพตามตรงว่าจำไม่ได้เลยว่าครั้งสุดท้ายของเหตุการณ์เหล่านี้ คือเมื่อไร หรือแม้แต่เคยเกิดขึ้นไหมก็ไม่แน่ใจเช่นกัน ซึ่งก็ไม่เคยคิดว่าเป็นปัญหาชีวิตแต่อย่างใด เพราะคนทำงานในวัยหมอหลายๆ คนก็คง ‘ไม่ค่อยมีเวลา’ แบบนี้ หนำซ้ำบางครั้งยังคิดกึ่งเข้าข้างกึ่งปลอบใจตัวเองว่า ‘งานยุ่งยังดีกว่าไม่มีงานทำ!’
จนกระทั่งได้มารู้จักกับคำว่า ‘Time Poverty’ หรือ ‘ความยากจนทางเวลา’ ซึ่งถูกนิยามมาตั้งแต่ปี 2006 โดยหมายถึงคนที่ไม่มีเวลาจะพักผ่อนหรือสังสรรค์อย่างเพียงพอ หลังจากการทำงานประจำ งานบ้าน รวมถึงกิจกรรมอื่นๆ ที่จัดเป็นภาระในชีวิต หลายคนมีความร่ำรวยทางการเงิน มีตัวเลขในบัญชีทรัพย์สินที่เติบโตอย่างก้าวกระโดด แต่ก็สวนทางกับเวลาว่างที่ลดลงด้วยอัตราเร็วไม่แพ้กัน
ประโยคที่ว่า ‘งานหนักไม่เคยทำร้ายใคร’ อาจไม่เป็นความจริงเสมอไป เมื่องานวิจัยพบว่า ความยากจนทางเวลาส่งผลให้ความสุขในชีวิตลดลง หัวเราะน้อยลง ซึมเศร้าและวิตกกังวลมากขึ้น เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคอ้วนลงพุง และยังส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานและความคิดสร้างสรรค์ลดลงอีกด้วย
เมื่อค้นพบความยากจนทางเวลาที่ตัวเองกำลังประสบ จึงค้นหางานวิจัยในด้านนี้ และพบว่าการหลุดพ้นจากความยากจนทางเวลาไม่ได้หมายถึงการเลิกทำงานให้เกิดความร่ำรวยทางเวลาแต่ยากจนทางการเงิน แต่หมายถึงการจัดการเวลาที่มีประสิทธิภาพขึ้น และตั้งเป้าหมายในชีวิตให้สมดุลกว่าเดิม โดยเริ่มต้นได้ง่ายๆ ดังนี้
ลงทุนกับเวลา
คนเรามักเผลอคิดว่าเวลาเป็นต้นทุนที่ไม่ต้องลงทุน แต่แท้จริงแล้วเวลาเป็นทรัพยากรที่มีจำกัดและมีคุณค่า ถ้าเราใช้เวลาเป็นต้นทุนให้กับงานทั้งหมด จนไม่เหลือเวลามาเป็นต้นทุนให้เกิดความสุขในชีวิตเลย เราจะมีความสุขในชีวิตได้อย่างไร เราอาจต้องลงทุนกับเวลาบ้าง ยอมลดงานบางอย่างที่มากเกินไป ยอมมีรายได้ที่ลดลงบ้าง เพื่อลงทุนกับเวลาแห่งความสุขที่เพิ่มขึ้น อาจเป็นการตัดสินใจลงทุนที่ยั่งยืนกว่า
วางแผนกับเวลา
โดยเฉพาะเวลาพักผ่อน แทนที่เวลาพักผ่อนจะเป็นเศษส่วนที่เหลือตกเก็บจากเวลาทำงาน ควรวางแผนการพักผ่อนอย่างเป็นรูปธรรม และเคารพกับการทำตามแผนให้ได้ต่อเนื่อง
พญ.ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล (หมอผิง)
อ่านเรื่อง เงินซื้อความสุขได้ไหมได้ที่นี่
พิสูจน์อักษร: พรนภัส ชำนาญค้า
อ้างอิงและอ่านเพิ่มเติม
Walker, Julian. “Time poverty, gender and well-being: lessons from the Kyrgyz Swiss Swedish Health Programme.” Development in Practice 23.1 (2013): 57-68.
Opmerkingen