top of page

บทความและอินโฟกราฟิก

NOVA จัดเกรดอาหารแปรรูป

G1 คือ

Unprocessed or Minimally processed foods

ผักผลไม้สด หรือแช่แข็ง ไม่มีการเติม สารปรุงแต่งใดๆ เนื้อสัตว์ที่ผ่านความร้อน เช่น ต้ม ผัด คั่ว ไม่ได้ปรุงรสเพิ่มเลย

อาหารในกลุ่มนี้ จะมี calories density และ nutrition profile ที่ต่างกัน ถ้ากินอย่างหลากหลาย สมดุล และพอดีๆ

จะไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ


G2 คือ

Processed culinary ingredients

น้ำมัน เนย มันหมู น้ำตาล เกลือ น้ำปลา กะทิ เครื่องปรุงที่วัตถุดิบมาจากธรรมชาติ แต่ได้ผ่าน กระบวนการผลิต ทำให้เครื่องปรุงเหล่านี้ รสที่เข้มข้น และให้พลังงานที่เข้มข้น ดังนั้นเครื่องปรุงจึงมี high energy density ที่ให้พลังงานสูง ไม่ควรกินมากไป เพราะจะได้รับ พลังงาน น้ำตาล ไขมัน หรือเกลือโซเดียมมากเกิน ดังนั้น กินได้ แต่ควรระวังปริมาณ อย่าให้ มากเกินไป

และอาจจะเลือก เป็นกลุ่มโซเดียมต่ำ

File was not uploaded


G3 คือ

Processed foods อาหารจากธรรมชาติจริงๆ แต่ถูกนำมา แปรรูปบรรจุในแพคเกจจิ้งต่างๆ เพื่อให้ เก็บรักษาได้นานขึ้น

เช่น ผลไม้กระป๋อง ปลาทูน่ากระป๋อง ปลารมควัน ขนมปังที่อบสด อาหารในกลุ่มนี้บางทีจะแยกจาก G4 หรือ

ultra processed foods ยากนิดนึง หลักสำคัญคือดูส่วนประกอบ ถ้าใช้ส่วนประกอบน้อยอย่าง เช่น เกลือ

น้ำมัน น้ำตาล แต่ไม่ได้มีสารชื่อแปลกๆยาวๆ ก็จะจัดอยู่ในกลุ่มนี้ ซึ่งถือว่ากินได้ แต่ไม่ควรกินเป็นหลัก


G4 คือ

Ultra-processed foods อันนี้ผู้ร้ายตัวจริง เป็นอาหารที่ใช้วัตถุดิบเกรด อุตสาหกรรมอาหาร อาหารในหมวดหมู่นี้คือ

ขนมถุงกรุบกรอบ น้ำอัดลม อาหารปรุงเสร็จ พร้อมทาน ที่สามารถแช่แข็งเก็บได้หลายเดือน บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป energy bar ไส้กรอก เบอร์เกอร์ อาหารกระป๋องที่ผ่านการปรุงรสต่างๆ ซุปสำเร็จรูป โจ๊กคัพ ขนมปังที่ผลิตโดยโรงงานใหญ่ด้วยวิธีการ

ผลิตที่ต่างจากการอบขนมปังตามร้านทั่วไป หรือแม้แต่อาหารเด็กทารกแบบสำเร็จรูปที่ผ่านการปรุงแต่งต่างๆ



bottom of page